วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา (TSU-MDC) มหาวิทยาลัยทักษิณ
TH  EN
มหาวิทยาลัยทักษิณ
  
 
 
►ข้อมูลวิทยาลัยฯ
► ประวัติความเป็นมา
► ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ
► ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
► ประกาศ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ
► คณะกรรมการประจำวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา
► ผู้บริหารวิทยาลัยฯ
► คณาจารย์ประจำวิทยาลัยฯ
► บุคลากรวิทยาลัยฯ
► โครงสร้างองค์กร
 
► ประวัติความเป็นมา กลับหน้าหลัก

ลักษณะองค์การ (Organizational Description)

                 วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2549 มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตั้งอยู่เลขที่ 140 หมู่ที่ 4 ชั้น 3 ชั้น 3 อาคาร 50 วศ. มศว. มทษ. ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และศูนย์บริการวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง เลขที่ 128/157 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท  เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 เป็นองค์กรที่เทียบเท่ากับคณะในมหาวิทยาลัยทักษิณ บริหารโดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ของวิทยาลัยเองทั้งหมด

ปรัชญา
          “การจัดการเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม”

  วิสัยทัศน์
          การจัดการเพื่อการพัฒนาสังคมภาคใต้ ปณิธาน องค์กรกรต้นแบบการบริหารจัดการตนเองและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

พันธกิจ
         - ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ที่ตอบสนองความต้องการของสังคมด้วย กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน
         - ผลิตงานวิจัยด้านการบริหารงานยุติธรรมและด้านการจัดการเพื่อการพัฒนา ที่ตอบโจทย์ชุมชน
         - บริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและพัฒนานวัตกรรม ด้านการจัดการบนฐานศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นใต้
         - พัฒนาองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารองค์กรในรูปแบบการ พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

ค่านิยม (Values)
          T = Teamwork (ทำงานเป็นทีม)
          E = Excellence in Teaching (เป็นเลิศด้านการสอน)
          A = Academic for Community (วิชาการเพื่อการชุมชน)
          M = Management for Development (การจัดการเพื่อการพัฒนา)

สมรรถนะหลัก (Core competencies)
          1. การบริหารงานภายใต้กระบวนการทำงานเป็นทีม(Team Work)และความร่วมมือ (collaborator)
          2. การพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นพลเมืองและธรรมาภิบาล
          3. การถ่ายทอดความรู้การบริการและวิจัยสู่ชุมชน

ประเด็นเป้าหมาย
             เป้าหมายที่ 1 ผลักดันการดำเนินงานตามแผนของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
             เป้าหมายที่ 2 บริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
             เป้าหมายที่ 3 บริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ
             เป้าหมายที่ 4 บริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดหลัก/ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
          UM01 กระบวนการจัดทำและผลักดันแผนของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
                    - ร้อยละความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัย
                    - ร้อยละความสำเร็จตามแผนปฏิบัติการประจำปีของวิทยาลัย
         UM02 การบริหารงบประมาณตามแผนของวิทยาลัย
                    - ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนของวิทยาลัย
                    - ร้อยละของผลการจัดสรรกรอบอัตรากำลังตามแผนอัตรากำลัง
         UM03 การปรับปรุง/พัฒนาสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ
                    - ความพึงพอใจของผู้ใช้สารสนเทศ
         UM04 การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของวิทยาลัย
                   - ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของวิทยาลัย
         UM05 การดำเนินการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการของวิทยาลัย
                   - ร้อยละการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานของวิทยาลัย

กลยุทธ์
          วิทยาลัยได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนา ไว้ 4 กลยุทธ์ ดังนี้
          - กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนกำลังคนให้มีความรู้และทักษะการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม
          - กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมสังคมภาคใต้
          - กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมและร่วมมือการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคม
          - กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและสร้างความมั่นคงด้านฐานะทางการเงิน ด้วยการหารายได้และการบริหารต้นทุน